ติสท์อยากเขียน

เปิดวิสัยทัศน์ AIS ปี 2018 “เพราะ IoT กำลังจะเปลี่ยนโลก”

หนึ่งในเทคโนโลยีที่เราพูดถึงกันในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ คงไม่มีอะไรฮอตฮิตเท่า “อินเทอร์เน็ตคือทุกสิ่ง” (Internet of Things หรือ IoT) ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งในชีวิตของคนเราให้ดีขึ้น แต่มันจะดีขึ้นอย่างไร ชีวิตของคนเราจะเปลี่ยนไปอย่างไร วันนี้ AIS มาบอกกล่าวให้เราได้รับรู้กัน ผ่านงานสัมมนาใหญ่ประจำปีที่มีชื่อว่า “Digital Intelligent Nation 2018” เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา

"เราตื่นสายไปหน่อยในโลกวันนี้ แต่เราจะตื่นอย่างไม่งัวเงีย" : รองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในปาฐกถาพิเศษ “Thailand Development Landscape Forward” ว่า ปัจจุบัน GDP ของประเทศไทยมีอัตราการเติบโตในทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเราจะเจอกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคง ซึ่งต้องยอมรับกับความเป็นจริงในวันนี้ว่า เครื่องยนต์การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจไทยที่เคยใช้งานได้ ก็เริ่มใช้งานไม่ได้ในยุคนี้ ความได้เปรียบต่าง ๆ ของประเทศ ก็กำลังจะไม่ใช่ ยิ่งเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มตัวแล้ว ก็ยิ่งแล้วกันใหญ่ ความได้เปรียบที่เราเคยมีอาจจะไม่ใช่อีกต่อไปในสถานการณ์ที่อาเซียนเป็นบ่อเงินบ่อทองของนักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลก

GDP ของไทยยังคงเติบโตต่อเนื่อง - ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

สภาพในปัจจุบันเรามาถึงยุคที่ 4 ของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งจำเป็นต้องมีการขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล ทุกสิ่งอย่างไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ง่ายขึ้น เข้าถึงได้หมด รูปแบบการดำเนินต่างๆ เปลี่ยนไปหมด ในยุคนี้เราสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ก่อให้เกิดโอกาสในการสร้างสิ่งใหม่ๆ สร้างนวัตกรรมได้ไวมากขึ้น และนั่นเรียกว่า “โอกาส” ที่มากขึ้น และไม่ใช่แค่โอกาส แต่มันรวมถึงความไม่สิ้นสุดจากการแปลงโอกาสให้กลายเป็นจริง

ความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ ประเทศที่ตื่น รู้ก่อน จะคว้าโอกาสและไปตามกระแสแล้วได้ประโยชน์คืนมาอย่างรวดเร็ว แต่ความโชคร้ายคือประเทศไทยตื่นสาย เราพึ่งจะตื่นรู้ว่าโลกก้าวเข้าไปในยุค 4.0 เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา ระบบราชการแทบไม่ไปไหน ส่วนเอกชนเองก็ไปไหนไกลได้ไม่มาก เพราะติดขัดกับระบบราชการ อย่างน้อย เราตื่นสาย ดีกว่าไม่ตื่น ตื่นแล้วไม่งัวเงีย เราต้องบอกคนไทยว่าเราเดินหน้าไปอีกยุคแล้วนะ เดินไปไกลแล้วนะ ทั้งโครงการสตาร์ทอัพต่าง ๆ โครงการอินเทอร์เน็ตหมู่บ้าน และโครงการอื่น ๆ อีกมายมายไม่รู้จบ ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นเพื่อให้คุ้มค่ากับการตื่นสายของเรา

แม้ว่าปัจจุบันเราจะเข้าสู่ยุคดิจิทัลไปบางส่วนแล้ว แต่ความเป็นดิจิทัลของเรายังผิดวัตถุประสงค์ เพราะส่วนใหญ่เราให้ความสำคัญกับโซเชียลเน็ตเวอร์คเป็นสำคัญหลัก ทั้งๆ ที่ Digital for All เกิดมาเพื่อลดช่องว่างของคน และเพราะเราไม่ได้เป็นไปตามนั้น ความเหลื่อมล้ำมันก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ ลองหลับตาแล้วนึกสภาพคนที่มีมือถือเข้าเน็ตได้หาโอกาสได้หาความรู้ได้ทุกวัน แล้วมองมุมกลับว่าคนที่ไม่มีและเข้าไม่ถึงก็จะถูกดันให้ห่างจากโอกาสทางความรู้ออกไปทุกวันเช่นกัน โดยเฉพาะวงการการศึกษา และการสาธารณสุข ดังนั้นจะเห็นได้ชัดเลยว่าเทคโนโลยีจะช่วยเหลือในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

สิ่งเหล่านี้ ถ้าให้รัฐมนตรีสามสิบกว่าคนไปทำมันก็คงไม่ไหว แต่ถ้าทุกคนลงมือช่วยกันทำไม่ว่าจะภาคส่วนไหน ก็ทำหน้าที่ในส่วนของตัวเอง สิ่งดี ๆ ก็จะค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างมีพลัง และขอบคุณทาง AIS ที่จัดงานนี้เพื่อแสดงสิ่งเหล่านี้ให้ทุกคนได้ดู ว่าความสำคัญของดิจิทัลนั้นสำคัญมากเพียงใด

ท้ายสุดนี้ ในสามปีนี้มันเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก เราจะต้องรีบเปลี่ยนผ่านให้ได้ เพราะสิ่งที่เรามีอยู่มากว่า 30 ปี มันไม่สามารถเดินหน้าไปไหนได้อีกแล้ว เพราะประเทศนับจากนี้จะเป็นของคนหนุ่มสาว แต่สุดท้าย

เราคงไม่ตาบอดคลำช้างไปข้างหน้ากันใช่ไหม?

"AIS IoT Alliance Program" ตัวอย่างของเอกชนที่ช่วยรัฐฯ ตื่นนอนทันโลกดิจิทัล

AIS เชื่อว่ารัฐบาลมีความมุ่งมั่นกับเรื่อง IoT ที่จะเอาไปช่วยพัฒนาวงการต่าง ๆ ให้ดีขึ้น หลายกิจการในโลกนี้ก็ได้นำ IoT มาทำให้กิจการของเค้าดีขึ้น ซึ่งในวันนี้ แค่แทคโนโลยีไม่พอแล้ว เพราะความร่วมมือกันของทุกวงการเป็นเรื่องสำคัญมาก ทำให้เราตัดสินใจสร้าง AIS IoT Alliance Program เพือเป็นตัวกลางระหว่างรัฐ เอกชน ธุรกิจต่าง ๆ สามารถหยิบ IoT ไปใช้พัฒนาธุรกิจได้

พันธมิตรโครงการ AIS IoT Alliance Program ทั้งภาครัฐและเอกชน

ย้อนกลับมาดูถึงภาพรวมของประเทศไทยจาก IMF ใน 12 ด้านสำคัญ สิ่งที่เราแย่ที่สุดคือ “ด้านนวัตกรรม” ซึ่งห่างจากค่าเฉลี่ยของโลกมากที่สุด รวมถึงข้อมูลของ สวทนเรื่องเงินที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา ตั้งแต่ปี 1980 เราใช้เพียงแค่ 0.2% ของ GDP แล้วไม่ขยับขึ้นมานานมาก จนมาถึงปี 2016 เราก็ยังอยู่ที่ 0.78% ของ GDP โดยเมื่อลองไปดูประเทศที่เจอวิกฤตต้มยำกุ้งเช่นเดียวกับเราอย่างเกาหลีใต้ ที่พอจะพลักดันให้ประเทศเดินหน้าอย่างเจริญ เขาต้องใช้งบในการพัฒนามากกว่า 2% ของ GDP และนั่นทำให้ประเทศเกิดการปลดล็อค พุ่งทะยานไปได้ไกลมาก และในตอนนี้เกาหลีใช้ถึง 4% ในการรักษาคุณภาพด้านนี้ คุณกานต์ ตระกูลฮุน หัวหน้าทีมภาคเอกชน การยกระดับนวัตกรรมและดิจิทัล คณะกรรมการสานพลังประชารัฐ และประธานกรรมการ เอไอเอส จึงมองว่า 4% เป็นตัวเลขสำคัญที่จะปลดล็อคไทยให้พุ่งทะยานทัดเทียมนานาประเทศได้ แต่ก่อนหน้านั้นในสิ้นปี 2561 นี้ เราน่าจะใช้งบสำหรับการวิจัยไปได้ถึง 1% ของ GDP ได้ซะที 

ข้อมูลจาก Bloomberg ยังระบุเพิ่มว่า ไทยติดอันดับที่ 45 จาก 1 ใน 50 ของวงการวิจัย โดยพิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยเราทำได้ดีในเรื่องการนำไปต่อยอดใช้งานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่หนึ่งเป็นเกาหลีใต้ ซึ่งพึ่งจะมาแทนสวีเดนได้เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น ทั้งนี้ในไทยมีนักวิจัย พัฒนา เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว แค่ 6 คนต่อประชากร 10,000 คน ถือว่าน้อยมาก แต่ก็ไม่ถึงขั้นเลวร้ายเมื่อเทียบกับบางประเทศ เป้าหมายระยะสั้นที่ต้องการคือภายใน พ.. 2564 เราจะต้องมีนักวิจัยประมาณ 25 คนต่อสัดส่วนประชากร 10,000 คน 

ด้วยนโยบาย Thailand 4.0 และการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญอย่าง พ..เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ผ่านแล้ว ถือเป็นแรงจูงใจให้ธุรกิจหลายประเภท พัฒนา และเปลี่ยนผ่านไปดิจิตอลมากขึ้น ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อจูงใจให้พัฒนา รวมถึงส่งเสริมธุรกิจแนวใหม่ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและดิจิทัลโดยตรง สอดรับกับยุทธศาสตร์นวัตกรรม 20 ปีถัดไปจากนี้เน้นไปที่การวิจัยเพื่อความมั่นคงพัฒนาสังคมความรู้พื้นฐานของประเทศและบุคลากรของประเทศเพราะต่างขาติมองเราว่าเราเป็นประเทศมีความคิดสร้างสรรค์ฉะนั้นเราต้องมีองค์ประกอบดีๆส่งเสริมให้เค้าทำสิ่งต่างๆให้ได้สำเร็จ

แต่ทั้งหมดนี้เราต่างคนต่างทำไม่ได้ลองคิดดูว่าฝั่งซิลิคอนวัลเลย์ดูแผ่ว ๆ แต่ฝั่งเซินเจิ้นกลับคึกคักขึ้นอย่างหนักทั้งที่ทำงานวงการเดียวกัน นั่นแปลว่าการร่วมมือของทุกภาคส่วนมีผลต่อการพัฒนาจริง ๆ

IoT กับ Central Group "โลกหมุนตามลูกค้า ไม่ได้หมุนตามเรา"

ตั้งแต่โลกมีอินเทอร์เน็ตมา 20 ปี สิ่งที่น่าตื่นเต้น คือการที่องค์ประกอบมันพร้อมทุกด้านจริง ๆ แล้วในแง่ธุรกิจ ตอนนี้รู้สึกได้เลยว่า มองอะไรก็ไม่ชัดเจน หรือรู้สึกถึงความไม่แน่นอน ยุคนี้ ผู้บริโภคคือคนกำหนดทิศทางตลาด คนที่ให้ทำตลาดด้วยก็มีทั้ง สูงอายุ วัยกลาง วัยเด็ก แล้วคนทุกกลุ่ม กลายเป็น Tech Savy แถมเรื่องคู่แข่งตอนนี้ไม่ใช่แค่คนที่เห็นๆกันแต่ดันเป็นใครก็ได้ที่พร้อมและไม่แค่นั้นมาก็มาแบบตัวเบาหาเงินทุนก็ง่ายเครื่องมือครบทำอะไรตอบสนองลูกค้าได้ไวขึ้นแถมมูลค่าธุรกิจไม่ได้มองกำไรขาดทุนแต่มองถึงคุณค่ามากขึ้น

และตอนนี้ IoT ก็พร้อมแล้ว เพราะอุปกรณ์ ข้อมูล และ เครือข่าย มีครบแล้ว ประเทศไทยมีคนถือมือถือแทบจะทุกคน ข้อมูลไม่ว่าจะจาก Social หรือ Cloud ก็มีมหาศาล เปลี่ยนไปทุกวินาที และเครือข่ายก็ครบ ตัวอย่างเช่น AIS ก็บอกว่าครบทั่วไทยมา 2 ปีแล้ว

เมื่อย้อนกลับไปตอน 2003 มีคน 6.3 พันล้านคนต่ออุปกรณ์ IoT 0.5 พันล้านขิ้น แล้วในปี 2020 คน 7.6 พันล้านคนต่ออุปกรณ์ IoT 50 พันล้านชิ้น ซึ่งมูลค่าของ IoT จะสูงกว่ามูลค่าของประเทศอย่างจีนหรือญี่ปุ่นในอนาคตนี้แน่นอน แล้วเราละ จะฉวยโอกาสจากมูลค่ามหาศาลนี้อย่างไร

ลองนึกถึงขำๆ ถ้าตอนนี้จะซื้อตู้เย็น ถ้าเป็นคนยุคนี้ ตู้เย็นจะต้องถูกคาดหวังมากกว่าเป็นที่เก็บอาหาร ต้องกลายเป็น IoT เก็บข้อมูลว่า เอาอะไรเข้า เอาอะไรออก บ้านนี้ชอบกินอะไร กินไปเท่าไหร่ กี่แคลฯ ของหมดต้องซื้อใหม่หรือยัง สั่งซื้อของได้เลย แล้วส่งให้ถึงบ้านได้เลย

อนาคต ทุกคนจะมีเลขาส่วนตัวแบบ AI ตัวย่างเช่น Siri / Google Assistants / Amazon Alexa เพียงแค่พูดกับมัน เราจะโอนเงินได้เลย โดยไม่ต้องไปธนาคารด้วยตัวเอง หรืออย่างเข่นประกันขับรถ ที่อิงจากประวัติการขับจริง ๆ ไม่ต้องอิงจากราคากลาง คนที่ขับรถดี ขับมีระเบียบ ก็สมควรได้ค่าประกันที่ถูกกว่าราคากลาง หรือเรื่องสุขภาพ เราอาจไม่ต้องไปโรงพยาบาลเพื่อดูว่า เราป่วยอะไร เพราะอุปกรณ์ IoT ทำให้ส่งข้อมูลไปหาแพทย์ได้ตลอดและสรุปได้ว่าสุขภาพดีจริงหรือไม่

คนที่ทำงานยุคนี้ ต้องปรับความสามารถให้รองรับสิ่งใหม่ ๆ เพราะเราอาจไม่มีที่ยืนเอาได้ ถึงโลก AI จะพัฒนา แต่หลายสิ้งก็ต้องใช้ความเป็นคน ที่จะทำให้งานทำสำเร็จได้ ในมุมชีวิตครอบครัว เราจะอยู่กันได้มากขึ้น เพราะเทคโนโลยีช่วยทำแทนไปเยอะ หรืออย่างเรื่องเมืองสีเขียว ตัวอย่างเช่นสิงคโปร์ ที่มีเรื่องบ้านประหยัดพลังงาน

ในด้านผู้ประกอบการร้านค้า การนำ IoT ทำให้ลดต้นทุนได้ สะดวกขึ้น เพิ่มประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า รวมถึงตัวร้านค้าก็ทำอุปสงค์ได้ชัดเจนมากขึ้น เพราะสินค้ายุคนี้ต้องวิ่งตามผู้บริโภค โดยในส่วน Central Group มองตัวเองว่า เราใหญ่วันนี้ แต่ไม่ใช่อนาคตจะอยู่เหมือนเดิม เรารู้ว่าเราด้อยเรื่องเทคโนโลยี ต้องไปจับมือกับ JD Center ที่ช่วยวางระบบให้กับ Wallmart เพื่อให้ก้าวไปในโลกดิจิตอลทัน ลูกค้ากลายเป็นศูนย์กลางสำคัญ ตัวอย่างเช่น Central On Demand ที่ลูกค้าถามกับ Chatbot ได้ว่า โปรวันนี้เป็นอย่างไร คุ้มไหมในการไปเดินซื้อที่ห้าง และอีกไม่นาน เราอาจมีห้างฯ ที่ไม่ต้องใช้พนักงานมาดูแลแบบที่กำลังเกิดขึ้น

สุดท้ายแล้ว IoT ในมุมของ Central มองว่ามันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวแล้ว Central เลยย้อนกลับไปถามตัวเองว่าพร้อมหรือยังสำหรับการตอบสนองลูกค้าในยุค 2020 เพราะถ้าพร้อมก็ต้องทำเลย และต้องมองภาพให้ใหญ่ ลองทำอย่างรวดเร็ว ทำผิดเร็ว รู้ตัวเร็ว ปรับตัวทันแน่นอน

IoT กับ BDMS "เราใช้ดิจิทัลเพื่อการรักษาที่แม่นยำ จนกลายเป็นโรงพยาบาลระดับโลก"

คุณบุรณัชย์ ลิมจิตติ Senior Vice President – International Marketing, Advertising and Public Relations บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ กลุ่ม BDMS กล่าวว่ากลุ่ม BDMS มีการใช้งานดิจิทัลมาวัดผลการรักษาคนไข้ โดยเทียบกับในหมู่โรงพยาบาลในเครือกว่า 6 แบรนด์ เพื่อรักษาคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็น การบริการที่ต้องนิ่ง ไม่ขึ้นๆ ลงๆ เวลาในการไปรับผู้ป่วยด้วยรถพยาบาล ฯลฯ ซึ่งเราใช้ดิจิทัลในการวัดข้อมูลเหล่านี้แบบรายวัน เราเก็บข้อมูลคนไข้ละเอียดมาก ทั้งชื่อ สกุล กลุ่มเลือด โรค ประวัติการรักษา เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ถ้าเราเก็บไม่ดีพอ มันก็จะเป็น Big Data ที่ใช้งานไม่ได้

ตามสถิติจากกระทรวงสาธารณสุข ประชากรไทยส่วนใหญ่เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุทางถนนมากสุด ตามด้วยโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเกี่ยวกับสมอง กลุ่ม BDMS เป็นโรงพยาบาลรายแรก ๆ ที่ตั้งเบอร์ฉุกเฉิน 1724 ที่ทำให้การติดต่อหน่วยฉุกเฉินสามารถทำได้ง่าย และพร้อมที่จะส่งยานพาหนะที่เหมาะสมในการรับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมกับอาการเบื้องต้น และเรายังมีพื้นที่ครอบคลุมถึงประเทศจีนตอนใต้ อินโดนิเซีย อินเดีย ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เราเป็นโรงพยาบาลที่มีผู้เสียชีวิตเพราะได้รับการรักษาที่ไม่ทันต่ำกว่าโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา และมะเร็งกับ BDMS เราก็ยังเป็นโรงพยาบาลที่รักษาหายขาดมากที่สุดด้วยการวัดจากสถิติของผู้ป่วยภายในห้าปี และผู้ป่วยต้องไม่เป็นหรือกลับมาอีก

นอกจากนี้ BDMS ยังแชร์ข้อมูลกับ MD Anderson Center ซึ่งเป็นศูนย์กลางเรื่องโรคมะเร็งในสหรัฐฯ, OHSU โรงพยาบาลดาวรุ่งในอเมริกา ที่ทำงานวิจัย และหาทุนได้สูงที่สุด, Cedars Sinal โรงพยาบาลยอดนิยมของดาราฮอลีวู๊ด, Nagaya Hospital ได้รับการแนะนำจาก Toyota รวมถึงกับภาครัฐฯ อย่างมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งหมดต้องใช้ Digital กับ Big Data ในการแชร์ฯ เพื่อการรักษาที่แม่นยำ

เรามีห้องทดลองของเราเอง เพื่อป้องกันผลตรวจที่พลาด แล้วทำให้หมอรักษาพลาด และเรายังผลิตยาเอง ผลิตน้ำเกลือเอง ดังนั้นเพื่อรักษา Supply Chain การนำ IoT มาใช้งานเพื่อทำให้ประสบการณ์ลูกค้าที่มารักษาออกมาดีที่สุด

ลองนึกถึงว่าการไปหาหมอ ไปถึง หมอถามเป็นอย่างไร เก็บข้อมูล ตัวอย่างปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งจากร่างกายแล้วเข้าแล็บ แถมยังอาจต้องเข้าเครื่องมือพิเศษ เพื่อหาผลให้ลึก และสรุปผล ทั้งหมดนี้คือวงจรของการไปหาหมอในตลอดร้อยปีของวงการแพทย์ BDMS ได้นำเอา IoT มาใช้กับห้องแล็บ เพื่อให้การตรวจสามารถตรวจได้ลึกถึงระดับยีน ตรวจร่างกายภายในได้ลึกขึ้น ลดการบาดเจ็บของคนไข้ ให้คนไข้พักฟื้นได้ไวขึ้น แล้วส่งข้อมูลทั้งหมดไปหาหมอได้ทันทีหลังจากที่เครื่องมือตรวจเจอ ดังนั้น IoT จึงสามารถระบุการรักษา และการจ่ายยาได้ตรงกับคนไข้มากขึ้น

เรามีอุปกรณ์ Wearables ที่เช็คสุขภาพด้วย ตัวอย่างเช่น Novatis ของ Google ที่ใส่กับตาแบบคอนเทคเลนส์ ใช้กับคนไข้มะเร็ง สามารถเก็บข้อมูลจากการสวมใส่ได้ว่า ผู้ป่วยตอนนี้เป็นอย่างไร ต้องทำอะไรต่อ โดยที่ไม่ต้องอยู่กับหมอ เพราะตัวอุปกรณ์เป็น IoT ส่งข้อมูลกลับไปหาหมอได้เลย ล่าสุด BDMS ใช้พื้นที่โรงแรมปาร์คนายเลิศเก่า ตั้งคลินิคที่เช็คสุขภาพแล้วดูอนาคตว่า ต้องแก้อะไร เพื่อให้สุขภาพดีจริงๆ ในระยะยาว ตรวจได้ถึง Telemere ซึ่งเป็นปมระดับยีน แล้วแก้ไขกันล่วงหน้าก่อนป่วยได้ทันก่อนเป็นจริง

และนี่คือทิศทางที่ BDMS จะทำต่อไป เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลระดับโลกที่ดียิ่งขึ้นไป ซึ่ง IoT จะเป็นกุญแจสำคัญของทิศทาง BDMS ต่อไป

Rhythm and Boyd “อย่าไปกลัวเวลาที่ฟ้าไม่เป็นใจ”

ถ้าพ่อกับแม่ผมยังอยู่ คงงงว่า ทำไมต้องมางานแบบนี้ด้วย ในแง่การเป็นนักแต่งเพลง ต้องใช้ Digital เป็นหลักด้วย ตัวอย่างเช่นบัตรคอนเสิร์ตรอบล่าสุดหมื่นกว่าใบ ขายหมดใน 15 นาที เพราะโปรโมทผ่าน Facebook Fanpage ตอนนี้ ครอบครัวไปอยู่เมืองนอก เพราะลูกๆ ไปเรียน ทำให้ต้องติดต่อกันผ่านทางนี้แทน

ผมเริ่มเล่น Twitter เพราะน้องชายบังคับให้เล่น ซึ่งผมเล่นเองไม่เป็น การตอบเพจ Boyd Go เป็นตัวผมตอบเอง ส่วน Admin มีหน้าที่ลบสิ่งที่ผมไม่ควรพูดแทน ในยุคนี้ เพลงไม่มีมูลค่าทางธุรกิจ โชว์กับคอนฯ กลายเป็นรายได้หลัก การมาของ Napster และ MP3 ทำให้เราต้องปรับตัวครั้งใหญ่ ต้องทำตลาดแบบ B2B

ธุรกิจ ถ้าโดนตัดจนเหี้ยน มันก็ต้องหาทางรอดให้ตัวเองได้ เหมือนต้นไม้ที่โดนตัดจนหมด ก็ต้องสามารถงอกได้ มองเห็นการใช้ Internet แบบจ้องจอกันจริงจังมาก ไม่ว่าจะที่ไหนก็ตาม เลยมองว่า ทำยังไงให้เวลาที่เค้าใช้ Internet เป็นมูลค่าของอุตสาหกรรมดนตรี จึงสร้าง App Fanster เพื่อให้ติดตามศิลปินที่ชอบ (ศิลปินค่ายเล็ก ค่ายอินตี้มารวมกัน) ซึ่งในอนาคต จะรวมไปถึงนักกีฬา / คนที่มีอิทธิพลต่อสังคม / กลุ่มที่ความสนใจเดียวกัน เมื่อติดตามแล้ว จะดึงเอา Feed ของ Social ของเค้ากลับมาให้ติดตาม การใช้เวลากับการตาม Feed ดาราที่ติดตามเป็นการเก็บเลเวลให้กับผู้ติดตามแล้วเอาเหรียญไปแลกรางวัลที่เรียกว่าไม่ธรรมดากับผู้ติดตามแน่นอน

ผู้ใช้งานหลักๆ 30% ที่ใช้แบบประจำๆ มีมาจากจีนด้วย ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่า เล่น Social ของ Fanster แล้วได้รับอะไรตอบแทน มากกว่าแค่การติดตามตามช่องทางปกติ ถึงโลกจะ Distrupt แต่มันคือการทำเพื่อให้เราเรียนรู้พัฒนาแบรนด์ดิ้งตัวศิลปินมากขึ้นด้วย

สุดท้ายนี้ คุณ Boyd บอกว่าต้องใช้ความอดทนที่จะผ่านไปเป็นกำลังใจให้ทุกคนด้วยเช่นกัน

AIS Vision 2018 "โลกของ IoT เป็นก้าวต่อไปของ AIS"

กลับมาที่เรื่องหลักประจำวันนี้ เมื่อ AIS ขึ้นมาบอกว่าโลกไม่ได้อยู่ที่เราคนเดียว แต่โลกต้องอยู่ร่วมกับทุกคน ทำให้ปี 2018 กับ AIS มีข้อมูลสำคัญที่น่าสนใจคือ ประชากร 7.5 พันล้านคน ตอนนี้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เกินครึ่งของประชากรโลกไปแล้ว แปลว่าจำนวนของ Smartphone กับคนที่ใช้ มีอยู่ทุกที่ ทุกเวลาแล้ว ส่วนในไทย ประชากรมีแค่ 68.1 ล้านคนพร้อมกับหนึ่งคนที่ใช้หลายเบอร์เป็นที่เรียบร้อย

กลับมาที่การเติบโตของ data ย้อนไปในปี 2016 (ปีที่ 4G 1800 MHz เพิ่งเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์) ปริมาณ data ต่อคนต่อเดือนยังใช้เฉลี่ยแค่ 3.8 GB แต่ในปี 2017 ที่ความเป็นดิจิทัลเริ่มเป็นรูปร่างมากขึ้น ปริมาณ data เฉลี่ยกลับพุ่งขึ้นสูงถึง 7.3 GB โตขึ้นถึง 80% แถมยังสอดคล้องกับเวลาใช้งาน ที่ตอนปี 2016 มีอัตราการใช้งานเฉลี่ย 3 ชั่วโมง แต่ปี 2017 อัตราการใช้งานเฉลี่ย 4.8 ชั่วโมง สำหรับการใช้งานแบบ Streaming มีคนใช้งานอยู่ 41 ล้านคน เมื่อเทียบกับการเปิดโทรทัศน์ตามปกติ ที่อยู่ที่ 67 ล้านคน แต่ต่างกันที่ Streaming ดูเวลาไหนก็ได้

นอกจากนั้น AIS ยังมองว่าโลกยังเต็มไปด้วยโอกาส ตัวอย่างเช่นการปฎิวัติอุตสาหกรรม ที่เราเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงจากความเป็นโรงงาน ก็ก้าวขึ้นเป็นบริษัทสร้างนวัตกรรม อย่าง IBM, Apple, Microsoft, Samsung, และอื่น ๆ และก็ก้าวขึ้นเป็นบริษัทสร้างระบบใหม่ ๆ อย่าง Uber, Facebook, Alibaba และ Airbnb เป็นต้น ทีนี้ก็กลับมามองปัจจุบันว่า แล้วยุคถัดไปที่กำลังจะมาถึงในปี 2020 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างไรบ้าง เมื่อ AI ก็พร้อม IoT ก็พร้อม และทุกอย่างก็พร้อมไปหมด

AIS มองเห็นความเปลี่ยนแปลงที่กำลังมาถึง จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ AIS จะก้าวขึ้นเป็น No.1 Digital Platfrom ของไทย ด้วยโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่เป็นอันดับ 1 เรายังมี 4G ที่เร็วที่สุดและเสถียรที่สุด และเราก็ยังมี Next G เครือข่ายคุณภาพระดับ 1 Gbps ที่ถือเป็นสปีดเริ่มต้นของ 5G ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และโครงสร้างพื้นฐานที่สอง เรามี AIS Fibre บริการ Fixed Boardband ที่ตอนนี้เราได้ลากสายไฟเบอร์ผ่านบ้านเรือนไม่ต่ำกว่า 6 ล้านครัวเรือน รวมระยะทาง 1.5 ล้านกิโลเมตร และพร้อมให้บริการเต็มรูปแบบแล้ววันนี้ใน 50 จังหวัดทั่วประเทศไทย

เมื่อมีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง AIS ก็ต้องสร้างแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าในหลาย ๆ กลุ่ม เริ่มต้นด้วย Video Platfrom อย่าง AIS Play เรารู้จักกันดีว่า AIS Play เป็นบริการทีวีออนไลน์สำหรับลูกค้า AIS ปีที่แล้ว AIS ผันตัวจากผู้ให้บริการแบบฟรีมาเป็นผู้ให้บริการแบบบอกรับสมาชิก ด้วยการสร้างพันธมิตรกับ HBO, Fox, NBA และ Turner เพื่อนำช่องต่าง ๆ มาลงใน AIS Play อย่างต่อเนื่อง สำหรับปี 2018 นี้ AIS ยังคงสานต่อความคุ้มค่าสำหรับทุกคนในครอบครัว เริ่มด้วยช่อง Cartoon Network ช่องสำหรับครอบครัวอันดับหนึ่งจากต่างประเทศ ตามด้วยช่องที่เป็นเสียงจากลูกค้าจริงๆ คือ CNN ซึ่งทั้งสองช่องใหม่นี้ AIS Play มีให้รับชมแล้วตอนนี้ และที่พิเศษกว่าคือวันนี้ AIS ได้ปลดล็อคให้ AIS Play สามารถดูช่องฟรีได้แบบไม่จำกัดค่ายเน็ตที่ใช้งาน ทำให้ลูกค้าค่ายอื่น ๆ สามารถรับชมฟรีทีวีกว่า 70 ช่อง บน AIS Play ได้ฟรี

นอกจากนี้ AIS ยังอยากที่จะสร้าง Local Content ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแสดงออกได้อย่างชัดเจน ด้วยโครงการ Play 365 ซึ่งเป็นโครงการรับสมัครผู้ที่มีหัวสร้างสรรค์ 365 ชีวิต หรือ 365 กลุ่ม มาแข่งกันสร้างคอนเทนต์สุดพิเศษสำหรับให้บริการผ่าน AIS Play โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการสนับสนุนและรายได้จากการขายโฆษณาผ่าน AIS โดยไม่มีการหมกเม็ด และที่สำคัญคุณสมชัยยังคาดหวังว่า ถ้าทำสำเร็จ จะดันให้ดังยิ่งกว่าวง BNK48 เลยเอ้า!!!

แพลตฟอร์มที่สองที่ AIS ให้ความสนใจ คือ VR Platform ซึ่งเป็นอีกสิ่งใหม่ของ AIS ที่พึ่งเปิดตัวไปหมาด ๆ ร่วมกับ Major Cineplex กับ AIS IMAX VR ที่ Siam Paragon ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน 7 ประเทศ ที่มี IMAX VR ให้เล่น ตัวอย่างเช่น Justice League ที่สวมบทบาทเป็นฮีโร่ทำภารกิจผ่าน VR และใน AIS D.C. เองก็ยังมี Playground สำหรับนักสร้างสรรค์ VR Content ให้ได้มาประชันฝีมือกัน หรือถ้าอยากจะลองเล่นก็มีแบบขนาดย่อส่วนจาก Siam Paragon มาให้ได้ลองด้วย

แพลตฟอร์มสุดท้ายก็เป็นเรื่องหลักของงานในวันนี้อย่าง IoT Platform ซึ่ง IoT ถือเป็นส่วนขยายของการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อชีวิตที่ดีกว่าเดิม อุปกรณ์เหล่านี้ มีเซ็นเซอร์ที่คอยรับ-ส่ง ข้อมูลต่าง ๆ กับผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นการประยุกต์ให้การใช้ชีวิตนั้นสะดวกและง่ายขึ้น AIS เองได้มองถึงการมาถึงของ IoT ที่กำลังจะมาในไม่ช้าด้วยการสร้างเครือข่ายเพื่อรองรับ IoT โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย NB-IoT ที่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว เน้นสำหรับอุปกรณ์ IoT ที่อยู่กับที่ หรือเคลื่อนไหวไม่เร็วมากนัก ปีนี้ AIS ยังพัฒนาต่อด้วยเครือข่าย eMTC ที่จะมาเสริมกับอุปกรณ์ IoT ที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว ๆ และที่สำคัญที่สุดคือการทำ IoT จะสำเร็จไม่ได้ ถ้าไม่ได้อาศัยพาร์ทเนอร์ร่วมกันทั้งในแง่อุปกรณ์และการนำไปใช้งาน

วันนี้ AIS ทิ้งท้ายด้วยการบอกว่าเรามีทั้งฐานลูกค้าขนาดใหญ่กว่า 40 ล้านเลขหมาย Digital Platfrom ที่แข็งแกร่ง และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็น จึงทำให้ AIS พร้อมที่จะเอาสิ่งที่เรามี ช่วยในการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็น Thailand 4.0 อย่างมั่นคงแน่นอน

สรุป

ช่วงก่อนเริ่มงาน ผมได้ชมวีดีโอจาก Facebook ของพี่เล็กก่อนไปงาน ที่เล่าถึงว่าปีนี้ไม่ใช่งานแถลง Vision ที่ไปทางธุรกิจจ๋าแบบปีก่อน แต่ที่ชัดเจนยิ่งกว่าภาพธุรกิจ คือการที่ AIS ใช้เวทีนี้เพื่อบอกว่า ธุรกิจของเค้า ทำอะไรให้กับสังคมไทยได้บ้าง อาจไม่เห็นเป็นรูปธรรมในเร็ววันนี้ แต่ถ้าการสะสมบารมีในสิ่งที่ทำ ได้รับความร่วมมือจากคู่ค้า ราชการ เชื่อว่าสิ่งที่แถลงไปวันนี้ จะไม่ใช่แค่ปาฐกฎาสวยๆ เรียกกระแสหุ้นหรือหน้าข่าวแน่นอน

คณะแกดกวน #teamgadguan

อริญชย์ ชวะโนทัย (iBehemortHz)

เด็ก ป.โท ผู้สนใจในโลกดิจิทัลและสังคม และคอยเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงผ่านสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่ชื่อว่า "หน้าจอ" :)