ติสท์อยากเขียน

ก้าวที่เหนือกว่า! AIS เดินหมากปรับ โครงสร้างสถาปัตยกรรมเครือข่าย เตรียมรับ 5G พร้อมเปิดทดสอบ 5G เป็นรายแรกในไทย

ใกล้จะหมดปี 2018 แล้ว สิ่งที่เครือข่ายทุกเจ้าปีนี้ขยับกัน ดูไม่มาก แต่มหาศาล เพราะคลื่นที่ประมูลมาใหม่กลายเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่เติมเต็มให้ทุกเจ้า เดินทางไปต่อได้มากขึ้น ถ้าเทียบกัน 3 โอเปอร์เตอร์ คงต้องยกให้ AIS ที่มีความเคลื่อนไหวก้าวสำคัญกว่าเจ้าอื่น ๆ

แต่วันนี้ AIS ขอชิงพื้นที่เล่าก่อนว่า ปี 2019 จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศไหน เพราะถ้าให้เกริ่นง่ายๆ คือการใช้งานในปีที่ผ่านมา มันไปไกลเกินกว่าที่ควรจะเป็นไปแล้ว เปลี่ยนไปอย่างไร

 

เรื่องของ 5G

ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกและไทย ต่างพูดถึงเทคโนโลยี 5G มาสักระยะแล้ว หลายคนอาจยังไม่รู้แน่ชัดว่า อะไรจึงเรียกว่า 5G และการทำเครือข่ายมือถือจะเข้ายุค 5G ได้นั้น ต้องประกอบด้วยปัจจัยอะไรบ้าง ต่างจากยุค 4G อย่างไร

5G คือชื่อของเทคโนโลยีเครือข่ายโทรศัพท์ในยุคถัดไป ซึ่งยุคที่กำลังจะมาถึงนี้ จะไม่ใช่ยุคที่เราจะได้เห็นความเร็วอินเทอร์เน็ตสูงระดับเมกะบิตแล้ว แต่เราจะมุ่งไปถึงระดับกิกะบิต ในมุมคนทั่วไปเห็นตัวเลขก็คงร้องว้าวกันแล้ว แต่ทว่า..เรื่องความเร็วเป็นเพียง 1 ใน 3 ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ 5G

มาตรฐานของ 5G ประกอบด้วย 3 เรื่องหลัก และเอไอเอสได้เตรียมวางรากฐานในแต่ละเรื่องอย่างไรบ้าง ดังนี้

 

1. เน้นความเร็ว (Speed) ยกระดับความเร็วการใช้ดาต้า (Enhanced Mobile Broadband-EMBB)

ในเรื่อง Speed น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคจับต้องได้ง่ายที่สุด โดยที่ผ่านมา เอไอเอสได้มีความพยายามนำเทคโนโลยีเครือข่ายขั้นสูงต่างๆ มาติดอาวุธให้เครือข่าย 4G ที่ใช้งานอยู่ ให้มีสปีดที่เร็วแรงมากขึ้นอยู่เสมอ เท่าที่จะคิดค้นและสรรหามาต่อยอดได้ เรียกว่าไม่หยุดยั้ง นั่งรอ 5G มาอย่างเดียว แต่ต้อง On-Top เครือข่ายอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น  เปิดให้บริการ 4.5G ด้วยเทคโนโลยี Carrier Aggregation และ MIMO 4X4 และ 256 QAM เป็นรายแรกของไทย, เทคโนโลยี FDD Massive MIMO 32T32R ครั้งแรกในโลก, รวมถึงการเปิดตัว NEXT G บนเทคโนโลยี Multipath TCP ที่ให้ความเร็วระดับกิกะบิทเป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปแล้ว

 

2. เน้นสนับสนุน IoT ขยายขีดความสามารถการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่ออุปกรณ์ (Massive machine type communications-mMTC) ที่จะถูกนำมาใช้อย่างมหาศาล

ในยุค 4G เราได้ยินมาตรฐานของเครือข่ายสำหรับอุปกรณ์ IoT อย่าง NB-IoT และ eMTC กันมาบ้างแล้ว และพอจะเข้าใจได้โดยสังเขปว่า สองชื่อนี้คืออะไร และมีความสำคัญโดยสังเขปกับอุปกรณ์ IoT อย่างไร แต่เพราะว่ามันมีอยู่ด้วยกันหลากหลายมาตรฐาน ใน 5G จึงออกแบบมาให้ทั้งสองมาตรฐานกลายเป็นมาตรฐานเดียวกันใรยุค 5G ต่อให้อุปกรณ์จะถูกออกแบบมารองรับเครือข่ายรูปแบบไหน ในยุค 5G อุปกรณ์เหล่านี้จะทำงานได้จริงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งถาวรและมีแบตที่อายุนานกว่าสิบปี หรืออุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว ๆ หรืออุปกรณ์สวมใส่ต่าง ๆ ก็จะสามารถทำงานร่วมกันบนมาตรฐานเดียวของ 5G ได้ทั้งหมด

ซึ่งในพาร์ทของ IoT เอไอเอสก็วางโครงข่าย IoT ทั้ง NB-IoT และ eMTC ครบทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศไปแล้ว เมื่อหลายเดือนก่อน พร้อมทั้ง ได้ให้บริการเชิงพาณิชย์กับหน่วยงานต่างๆ แล้ว เอาเป็นว่า แม้ตอนนี้ 5G จะยังไม่มา แต่ประเทศไทยก็สามารถมีเครือข่ายและแพลตฟอร์มที่รองรับ IoT และอีโคซิสเต็มได้แล้ว

 

3. เน้น Low Latency ประสิทธิภาพความเร็วในการตอบสนอง (Ultra-reliable and low latency communications)

ข้อนี้ ดูเป็นปัจจัยสำคัญ ที่หลายคนอาจนึกไม่ถึง พูดกันอย่างจริงจังว่ายุค 5G เป็นยุคที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องของค่าตอบสนอง (Latency) หรือที่เรารู้จักกันทั่วไปว่า “Ping” เพราะในยุค 5G แต่ความเจ๋งอีกอย่าง คือ การตอบสนองได้เร็วและเสถียร หรือมี ค่า Latency ที่ต่ำ เพราะเมื่อถึงยุคนั้น ความเร็วมากๆ อาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญอีกต่อไป เรากลับจะเน้นไปที่อินเทอร์เน็ตที่มี Ping ต่ำเป็นพิเศษ เพื่อให้ทุกสิ่งอย่างบนอินเทอร์เน็ตทำงานได้อย่างราบรื่นนมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน ไม่มีสะดุดแม้แต่น้อย

เพื่อให้นึกภาพออก.. 5G จะมีบทบาทมากในเรื่องของการควบคุมอุปกรณ์ระยะไกล เช่น การผ่าตัดระยะไกล การทำเหมืองแร่ระยะไกล หรืองานที่ต้องใช้ความเร็วและความเชี่ยวชาญมาก ซึ่งงานทั้งหมดนี้จะต้องมีการตอบสนองที่เร็วที่สุด และทันท่วงที ซึ่ง 5G จะมาช่วยให้งานเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จริง และทำได้ดีกว่าในปัจจุบัน ในฝั่งผู้บริโภคก็จะได้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตที่มีค่าความหน่วงต่ำด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเข้าถึงสิ่งที่อยากได้เร็วขึ้น เช่น การซื้อของออนไลน์ หรือการเล่นเกมบนมือถือที่ดีขึ้นเป็นต้น

 

ปรับโครงสร้างสถาปัตยกรรมเครือข่าย ปูทางสู่ 5G

ในแกนการตอบสนอง หรือ Latency นี่แหละ ที่เราเกริ่นว่า เอไอเอสก็ได้เริ่มศึกษาและเป็นรายแรกที่เริ่มต้นปรับโครงสร้างเครือข่ายหลัก หรือ Core Network ที่กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาค ให้สามารถสื่อสารตรงไปยังเซิร์ฟเวอร์บริการต่างๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องย้อนกลับมา ผ่านศูนย์กลางเครือข่ายในส่วนกลางเหมือนเคย ส่งผลให้อัตราการตอบสนองได้เร็วขึ้น เพราะค่า Latency ต่ำ เป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญด้านเครือข่าย ของไทย ที่รุกขึ้นมาลงมือทำเรื่องนี้อย่างจริงจังเป็นรายแรก แสดงให้เห็นถึงความพยายามและ “เอาจริง” เพื่อให้คนไทยได้เข้าใกล้เทคโนโลยี 5G ที่สุดเท่าที่จะทำได้บนทรัพยากรที่มีอยู่

 

ชิงเปิดทดสอบ 5G เป็นรายแรกของไทย

ความจริงจังในการเตรียมพร้อมเครือข่ายรับ 5G ไม่ใช่แค่พูดและจะทำได้เลย แต่มีการวางแผนงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เมื่อเดือนตุลาที่ผ่านมา เอไอเอสและโนเกีย ได้ยื่นเรื่องขอทดสอบ 5G และได้รับอนุญาตนำเข้าอุปกรณ์เพื่อดำเนินการสาธิต 5G จาก กสทช. โดยได้รับอนุมัติให้เปิดการสาธิต 5G บนคลื่นความถี่ย่าน 26.5-27.5 GHz ได้อย่างเป็นทางการ เอไอเอสจึงได้เปิดให้คนไทย และภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้สัมผัสประสบการณ์และใช้เทคโนโลยี 5G ครั้งแรกในเมืองไทย ในงาน “5G the First LIVE in Thailand by AIS” ณ AIS D.C. ชั้น 5 ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม (ชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย) เพื่อให้เห็นประโยชน์ของ 5G ที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ในฐานะเทคโนโลยีที่จะพลิกโฉมและสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจทุกระดับ

คณะแกดกวน #teamgadguan

คณะแกดกวน #teamgadguan

เว็บ Gadget อารมณ์ดี มีสาระ
เราคุยกันได้ทั้งเรื่องของเล่นไฮเทค วิทยาการ หรือกระทั่งเมาท์เรื่องไม่เป็นเรื่อง ให้เป็นงานเป็นการ