ข่าวสั้น

AIS เปิดตัว E-Waste+ ต่อยอดการทิ้งขยะ IT ที่ชัดเจน ทิ้งแล้วไปไหน ทิ้งแล้ว ช่วยโลกแค่ไหน?

AIS มีโครงการ E-Waste มาได้ประมาณ 4 ปีแล้ว ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ขยะ IT เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะมือถือใหม่ Gadget รุ่นใหม่ ที่ใช้แล้วอนาคตก็คือขยะอันตรายรูปแบบหนึ่ง AIS จึงพยายามปรับธุรกิจให้ใช้พลังงานหมุนเวียน ลดการปล่อยคาร์บอน แนะนำลูกต้าให้รับใบแจ้งค่าบริการผ่าน e-mail หรือใช้งานผ่าน My AIS App ที่ช่วยลดการเดินทางของลูกค้ามาที่สาขา เพราะสามารถจัดการเบอร์เกือบจะครอบคลุมได้หมด และสิ่งที่ทุกคนจับต้องได้ คือถังขยะอิเล็กโทรนิกส์ที่มากกว่า 2,000 จุด ทั่วประเทศ ทำให้โครงการ AIS E-Waste ไม่ใช่แค่โครงการที่บริษัททำเพื่อภาพลักษณ์เท่านั้น 

เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนว่า การทิ้งขยะอิเล็กโทรนิกส์ ไม่ได้แค่ไปฝากทิ้งเปล่า AIS จึงเปิดตัว AIS E-Waste+ โดยนำเทคโนโลยี Blockchain มาจัดการขยะ ทำให้ขยะที่นำไปทิ้ง ติดตามได้ว่า ไปถึงไหนแล้ว กำจัดอย่างไร หลักการทำงานของ AIS E-Waste+ มีดังนี้ 

Blockchain เกี่ยวอะไร? ถ้าทำโครงการ AIS E-Waste แบบเดิม บริษัทจะใช้ทุนสูงจนทำโครงการนี้ไม่คุ้ม โรงงานกำจัดขยะแบบหมดจดในไทย ถือว่ามีน้อยมาก รวมถึงคนที่นำมาทิ้ง ก็ตั้งข้อสงสัยได้ว่า “ขยะทิ้งไป แอบเอาไปขายโรงงานกำจัดขยะ เพื่อหาเงินหรือเปล่า?” 

การนำ Blockchain มาใช้ ทำให้ทุกคนเห็นข้อมูลขยะ คนทิ้งจะรู้สึกเหมือนกำลังเล่นเกม ยิ่งช่วยทิ้งให้ถูกมาก ได้เห็นข้อมูลว่า ช่วยสิ่งแวดล้อมไปเท่าไหร่? ลดคาร์บอนไปเท่าไหร่? โดย AIS นำ Blockchain มาสร้างต่อยอดในชื่อ NEXTClan เป็นระบบจัดการโครงการนี้ เชื่อมโยงกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะโรงงาน ผู้ผลิต ผู้ขาย ลูกค้าที่ใช้งานของ ไปจนถึงวันสุดท้ายของสินค้าที่จะกลายเป็นขยะ

ทำงานอย่างไร? เมื่อโหลด App มาแล้ว การทิ้งแต่ละครั้ง จะถูกบันทึกว่า ทิ้งอะไร ใครเป็นผู้ทิ้ง ผู้ทิ้งตรวจได้ว่า อยู่สถานะไหน รวมสถิติให้ว่า ทิ้งไปแค่ไหน ช่วยลดคาร์บอนได้เท่าไหร่ ไปถึงขั้นตอนไหน สำเร็จแล้ว ได้คะแนนช่วยโลกเท่าไหร่ จบครบใน app เดียว 

2030 ต้องลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้ 30-40% มาถึงปี 2050 ต้องเป็นกลางทางคาร์บอน และปี 2065 คือปีที่ไทยต้องลดคาร์บอนให้เป็น 0 ให้ได้ แต่ในภาพเอกชนพยายามทำให้เร็วกว่า กล่าวคือ ปล่อยเท่าไหร่ ต้องช่วยโลกกลับให้เท่ากับที่ปล่อยออกไป โดยคาร์บอน 1 ตัน ต้องชดเชยด้วยต้นไม้ 106 ต้น

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ร่วมกันทิ้งให้ถูกที่ไม่จำกัดเครือข่าย เพียงค้นหาชื่อ AIS e-waste+ ใน iOS App Store หรือ Google Play Store

คณะแกดกวน #teamgadguan

ดลกุล เนตรรัตนากุล (zipboy)

ชื่อเต๋า อายุหลัก 3 ชอบของเล่นไฮเทคทั้งหลาย แต่ไม่ค่อยจะได้เล่น ต้องไปยืมชาวบ้านมาลอง เป็นกรรมกรประจำ #TeamGadGuan รักที่จะเขียน และรักคนอ่านครับ^^