ในยุคที่ดิจิทัลที่ชีวิตทุกคน ได้รับความสะดวกผ่านเครื่องมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ฯลฯ ของชิ้นใหม่ล่าสุดของเราวันนี้ ยังไงก็ต้องเดินทางไปที่จุดจบของการตกรุ่น ไปจนถึงการเป็นขยะ และขยะจากอุปกรณ์ไอทีเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ของที่จะทิ้งถังขยะแล้วจบเรื่อง
AIS คือหนึ่งในเอกชนที่มองว่า ตัวเองมีส่วนในวงจรสร้างขยะไอที โครงการ AIS E-Waste จึงไม่ใช่โครงการทำเอาภาพหรือทำชั่วคราว เพื่อให้ขยะไอทีทั้งหมด ไปอยู่ถูกที่ถูกทาง กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จึงร่วมกับ AIS ผลักดันให้ E-Waste เป็นวาระแห่งชาติ โดยกระทรวงทรัพยฯ จะนำถังขยะ AIS E-Waste กระจายไปยังหมู่บ้านผ่านเทศบาลจังหวัดกว่า 70,000 หมู่บ้านทั่วไปเทศ เพื่อให้ประชาชนที่ห่างไกล สามารถนำขยะไอทีมาทิ้ง และนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง เสริมจากที่ AIS วางไว้ตาม AIS Shop / Telewiz / Central / คอนโด ออฟฟิศ ต่าง ๆ และไปรษณีย์ไทย ที่มีอยู่ 2,600 จุด อยู่แล้ว
ปัจจุบัน ขยะไอทีมีอยู่ประมาณ 53.6 เมกะตัน เฉลี่ยคนหนึ่งคน ผลิตขยะประมาณ 7.3 กิโลกรัม ในประเทศไทย คาดกันว่ามีขยะไอทีประมาณ 400,000 เมกะตัน แต่ผ่านการกำจัดแบบถูกวิธีจริง ๆ แค่ 17.4% ทำให้ประเทศไทยออกกฎหมายห้ามนำเข้าขยะไอทีจากต่างประเทศ นับตั้งแต่ปี 2563 นี้ รวม 430 รายการ และปี 2565 จะห้ามนำขยะพลาสติกเข้าประเทศไทย ขยะที่ผ่านโครงการ AIS E-Waste นับตั้งแต่ตุลาคม 2562 ถึงตุลาคม 2563 รวมแล้วกว่าหลักแสนชิ้น ทั้งหมด ได้ TES จากสิงคโปร์ เป็นผู้นำไปแยกองค์ประกอบแร่ธาตุ สิ่งที่นำไปทำใหม่ได้ และกำจัดส่วนที่ไม่มีประโยชน์ได้หมดจด และล่าสุด Toyota ก็มาเข้าร่วมในการช่วยกำจัดขยะไอทีกับ AIS อีกด้วย
ทั้งนี้ AIS ยังมองว่า โครงการนี้ น่าจะได้จำนวนขยะมากกว่านี้ รวมถึงมีส่วนส่งเสริมให้คนไทยตระหนักในการนำขยะไอทีมาทิ้งให้ถูกวิธีอีกด้วย และ AIS ยืนยันในความจริงจังกับโครงการนี้ว่า
“อยากได้ขยะไอทีหลักล้านชิ้นไปช่วยกำจัดให้นะครับ” คุณสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ : CEO AIS